การวิจัยหมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงที่มีระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อนำความรู้ความจริงที่ได้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาหรือก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ
ความสำคัญของการวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการเป็นการแสวงหาความรู้ หรือความจริงเพื่อสร้างเป็นกฎ สูตรทฤษฎี ในแต่ละสาขาวิชา และเพื่อนำไปประยุกต์หรือใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มีจุดมุ่งหมายในการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงปฏิบัติโดยตรง
ประเภทของการวิจัยงานวิจัยแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการจัดประเภท งานวิจัยโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น4ประเภท ดังนี้
1) แบ่งตามประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Pure Research)
1.2 การวิจัยประยุกต์(Applied Research)
2) แบ่งตามลักษณะวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research)
2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)
3) แบ่งตามประเภทของศาสตร์ แบ่งได้2 ประเภท คือ
3.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(SciencesResearch)
3.2 การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research)
4) แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย แบ่งได้3 ประเภท คือ
4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research)
4.2 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)
4.3 การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research)
ขั้นตอนการวิจัย การดำเนินการวิจัย ยึดถือและปฏิบัติตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักมีลำดับขั้นของการทำวิจัย
5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา(Problem Identification)
ขั้นที่ 2 การตั้งสมมุติฐาน (Formulation Hypothesis)
ขั้นที่ 3 การรวบรวมข้อมูล(Collection of Data
ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis)
ขั้นที่ 5 การสรุปผล(Conclusion)
= การวิจัยและพัฒนาการศึกษา (R & D)
4.1 ความสำคัญ เป็นการพัฒนาการศึกษาโดยพื้นฐานการวิจัย (Research Based Education Development) เป็นกลยุทธ์หรือวิธีการสำคัญหนึ่งที่นิยมใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการศึกษา โดยเน้นหลักเหตุผลและตรรกวิทยา เป้าหมายหลัก คือ ใช้เป็นกระบวนการในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา(Education Product) การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา (R & D) มีความแตกต่างจากการวิจัยการศึกษาประเภทอื่นๆ อยู่ 2 ประเภท คือ เป้าประสงค์ / จุดมุ่งหมาย (Goal) และการนำไปใช้ (Utility)
4.2 ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนาประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 11 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดผลผลิตทางการศึกษาที่จะทำการพัฒนา
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 3 การวางแผนการวิจัยและพัฒนา
ขั้นที่ 4 พัฒนารูปแบบขั้นตอนของผลผลิต
ขั้นที่ 5 ทดลองหรือทดสอบผลผลิตครั้งที่ 1
ขั้นที่ 6 ปรับปรุงผลผลิตครั้งที่ 1
ขั้นที่ 7 ทดลองหรือทดสอบผลผลิตครั้งที่ 2
ขั้นที่ 8 ปรับปรุงผลผลิตครั้งที่ 2
ขั้นที่ 9 ทดลองหรือทดสอบผลผลิตครั้งที่ 3
ขั้นที่ 10 ปรับปรุงผลผลิตครั้งที่ 3
ขั้นที่ 11 เผยแพร่
=การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research :CAR)
ความหมายความสำคัญ การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research :CAR)
Kemmis, S.กล่าวว่า Kurt Lewin เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า"action reseach" โดยมีขอบเขตอยู่ที่การ แก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้อง กับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐจ้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย (teacher as Research)ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป
ในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ถ้าหากครูต้องเขียนรายงานการวิจัยทั้ง ๕ บท จะต้องใช้เวลายาวนานหลายคนจึงไม่สามารถเขียนรายงานการวิจัยแบบยาวๆ ได้ จึงนำเสนอวิธีการเขียนรายงานการวิจัยแบบง่ายๆ สั้นๆ ซึ่งสามารถทำวิจัย ได้ทั้งครู และนักเรียน ตามแนวของกรมวิชาการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
จุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัยในชั้นเรียน
๑. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน
- สอนไปแล้วมีปัญหา หรือนำปัญหาจากผลการสอนปีที่ผ่านมาหรือคิดหาวิธีการสอนใหม่ๆ มาช่วยให้การสอน สนุกสนานยิ่งขึ้นแล้วทำการวิจัยโดยไม่จำเป็นต้องเขียนเค้าโครงการวิจัยก็ได้ และไม่จำเป็นต้องบันทึกขออนุญาตผู้บริหาร หรือเสนอหัวหน้าฝ่ายต่างๆให้ความเห็นชอบ
- เขียนรายงานการวิจัยสั้นๆ หน้าเดียวหรือ ๒ - ๑๐ หน้า
- บันทึกรายงานเสนอผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
- ถ่ายเอกสารเผยแพร่ให้ครูในโรงเรียน หรือโรงเรียนอื่นๆ เพื่อสะสมเป็นผลงานของเรา
๒. เพื่อประกอบการเสนอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ ๓
- แก้ปัญหานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน
- เมื่อแก้ปัญหาแล้ว เขียนรายงาน สรุป เสนอประกอบการเลื่อนตำแหน่ง
- รายงานการวิจัยควรมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปจะมี ๕ บท
รูปแบบของการวิจัยที่เหมาะในการนำไปวิจัยในชั้นเรียน
๑. การวิจัยเชิงสำรวจ เช่น สำรวจว่านักเรียนแต่งกายไม่เรียนร้อยนั้นมีกี่คน ใครบ้างสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ สำรวจนักเรียนว่าใครเคยสูบบุหรี่บ้าง
๒.การวิจัยหาความสัมพันธ์ เช่นนักเรียนกลุ่มที่เรียนเก่งกับกลุ่มเรียนอ่อนมีความสัมพันธ์ กับอาชีพผู้ปกครองหรือไม่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์กับภาษาไทย หรือไม่
๓.การวิจัยเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษาเรื่องการ เลือกตั้งระหว่างการสอนแบบ แสดงบทบาท สมมติกับการสอนแบบบรรยาย
๔.การวิจัยทดลองเชิงเหตุผล จะแบ่งกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มๆ แล้วเปรียบเทียบว่าใคร ดีกว่ากัน เช่น ทดลองวิธีสอนสองวิธี โดยใช้นักเรียนห้อง ก. และห้อง ข. มีจุดอ่อนคือนักเรียน อาจแอบดูกัน หรือสอบถามกันนอกห้องมีนักเรียนกลุ่มหนึ่งได้ผลดี แต่อีกลุ่มยังอ่อนเหมือนเดิม
๕.การวิจัยเชิงทดลองและพัฒนา วิธีนี้ใช้นักเรียนกลุ่มเดียวไม่ต้องเปรียบเทียบวิธีสอนแบบดั้งเดิมกับวิธิสอนใหม่ แต่นำวิธีสอนแบบใหม่มาใช้ได้เลย หรือพัฒนาสื่ออุปกรณ์มาใช้สอนหรือจัดทำแผนการสอนให้ดีแล้วนำไปสอนนักเรียนจะสอน ๑ ห้อง ๕ ห้อง หรือ ๑๐ ห้องก็ได้
สถิติที่ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้ T -Test หรือ F - test เราใช้เพียงค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็พอแล้ว โดยอาจจะมีการทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ซึ่งกรมวิชาการ สรุปว่า การวิจัยในชั้นเรียนที่น่าทำมากที่สุด คือ รูปแบบที่ ๕ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียว เหมาะกับการเรียนการสอนมากที่สุด
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑.จะมีข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ แต่ต้องอยู่ในขอบข่ายของประเด็นปัญหา การวิจัยที่กำหนดไว้เท่านั้น
๒.ควรกำหนดเป็นข้อๆ เช่น สำรวจเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาผลกระทบหาความสอดคล้อง เช่น
๑) เพื่อศึกษา เจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการสนับสนุนของผู้ปกครองของนักเรียนที่ร่วมทำและไม่ร่วมทำโครงงานวิทยาศาสตร์
๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับการนิเทศภายในจำแนกตามเพศวุฒิการศึกษาและประสบการณ์สอน
๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพของผู้ปกครอง กับความสามารถทางคณิตศาสตร์
๔) เพื่อศึกษาอิทธิพลของ ๑๐ องค์ประกอบ ที่มีผลต่อความพึงพอใจของหัวหน้าคณะและหัวหน้าแผนกวิชา ช่างอุตสาหกรรม
ตัวอย่างการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่องคำราชาศัพท์ โดยการแสดงลิเกกับการสอนแบบปกติ
วัตถุประสงค์ :
๑. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยการแสดงลิเกกับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ
๒. เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ ระหว่างการเรียนภาษาไทยโดยการแสดงลิเกกับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ
การวิจัยนวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยการให้เหมาะสม โดยการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดี ในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทนวัตกรรม
๑.สื่อสิ่งประดิษฐ์ เช่น กล้องโทรทัศน์ หนังสือ คู่มือครู แบบเรียนโปรแกรม
วิดิทัศน์ แผนการสอน ชุดการสอน ศูนย์การเรียน สื่อประสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เกม เพลง แบบฝึกต่างๆ เอกสารประกอบการสอน ใบความรู้ ใบงาน สไลด์ แผ่นโปร่งใส ข่าวหนังสือพิมพ์
๒.วิธีการหรือเทคนิค เช่น วิธีทดลอง วิธีไตรสิกขา วิธีอริยสัจ ๔ วิธีสอนแบบโครงงานวิธีสอนแบบสหกิจ วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิธีสอนแบบStoryline วิธีสอนแบบสากัจฉา วิธีสอนแบบดาว ๕ แฉก CIPPA Model, Mind Mapping วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ วิธีสอนแบบอภิปราย วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ การแสดงละคร บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง ทัศนศึกษา สอนซ่อมเสริม การสอนเป็นทีม การสอนตามสถาพจริง การเรียนรู้จากการ ปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้จากชุมชนและธรรมชาติ วิธีสอนแบบซินดิเคท วิธีสอนแบบลีลาศึกษา วิธีสอนแบบลักศาสตร์ วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ วิธีสอนแบบวรรณี วิธีสอนแบบเรียนเพื่อรอบรู้ (Mastery Learning) วิธีสอนแบบอนุมาน วิธีสอนแบบวิพากษ์วิจารณ์ วิธีสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้(4 MAT System) เป็นต้น
ขั้นตอนการวิจัย
ในการทำวิจัยอย่างเป็นระบบผู้เขียนแบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น ๖ ขั้น คือ
ขั้นที่ ๑ บอกปัญหาของนักเรียน
ขั้นที่ ๒ บอกวิธีแก้ปัญหา
ขั้นที่ ๓ จัดทำสื่อ/อุปกรณ์/แบบฝึก/นวัตกรรม
ขั้นที่ ๔ ทดลองสอน/ลงมือแก้ปัญหา
ขั้นที่ ๕ วัดผล วิเคราะห์ สรุป
ขั้นที่ ๖ เขียนรายงานสั้นๆ หน้าเดียว
ขั้นที่ ๑ บอกปัญหาของนักเรียน แบ่งได้ ๓ พวก คือ
๑. ปัญหาด้านพฤติกรรม / ความประพฤติ เช่น การแต่งกายไม่เรียบร้อย ไว้ผมยาว พูดเสียงดัง หยาบคาย ก้าวร้าว สูบบุหรี่ ไม่มีระเบียบวินัย พูดสอดแทรก ชอบรังแกเพื่อน ฯลฯ
๒.ปัญหาด้านวิชาการ เช่น สอบได้คะแนนน้อย อ่านหนังสือไม่คล่อง เขียนหนังสือไม่สวย พูดไม่ชัด ขาดทักษะการทำงาน แต่งประโยคไม่เป็น สรุปองค์ความรู้ไม่ได้ ฯลฯ
๓.ปัญหาด้านจิตพิสัย เช่น ขาดความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ เซื่องซึม หงอยเหงา ความเมตตากรุณา ความเสียสละ ความกตัญญูกตเวที เจตคติต่อวิชาที่เรียน
การกำหนดหัวข้อวิจัย
๑.อย่ากำหนดหัวข้อที่ยาก หรือเป็นหัวข้อที่มีความเพ้อฝันมากเกินไป มันจะเกินขีดความสามารถของ นักวิจัย
๒.เป็นเรื่องที่ตนเองสนใจ และควรอยู่ในสาขาของตนเอง หรือวิชาที่ตนเองสอน
๓.หัวข้อวิจัยควรทันต่อเหตุการณ์ ทันสมัย มีคุณค่า เป็นที่สนใจของหน่วยงานต่างๆ มีประโยชน์ต่อ บุคคลและสถาบัน และเสริมความรู้ใหม่ๆ
ขั้นที่ ๒ บอกวิธีแก้ปัญหา
วิธีแก้ปัญหาคือ การใช้นวัตกรรมประเภทสื่อสิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการสอนแบบต่างๆ ที่เหมาะสมต่อ ปัญหานั้นๆ โดยครูตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมเอง หรือศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น
๑.ปัญหาการสอนในปีที่ผ่านมา นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ อาจแก้โดยใช้ศูนย์การเรียน แบบเรียนโปรแกรม การเรียนแบบร่วมมือ นิทาน เพลง เกม การทดลอง แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
๒.ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากการสอนในชั่วโมงที่ผ่านมา นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำแก้โดยใช้วิธีการสอน ซ่อมเสริม เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยครู เพื่อนสอนเพื่อน พี่สอนน้อง ศึกษาด้วยตนเองจากหนังสืออ่านเพิ่มเติม แบบเรียนโปรแกรม วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
ขั้นที่ ๓ จัดทำสื่อ/อุปกรณ์/ แบบฝึก/นวัตกรรม
ในการอบรมการวิจัยทั่วๆไป มักจะใช้คำว่า สร้างนวัตกรรม ซึ่งบางท่านอาจจะคิดว่าเป็นสื่อที่ยิ่งใหญ่ ยากแก่การจัดทำ ผู้เขียนจึงใช้คำว่า จัดทำสื่อ อุปกรณ์ แบบฝึก หรือนวัตกรรมซึ่งทำให้ท่านเข้าใจดีขึ้นและรู้สึกว่าเป็น สิ่งที่ง่ายเพราะคุณครูได้จัดทำขึ้นมาแล้วในการสอนแต่ละวิชา
ในการวิจัยในชั้นเรียน สื่อที่ท่านจัดทำขึ้นไม่จำเป็นต้องไปหาคุณภาพของสื่อ เช่น หา ประสิทธิภาพของศูนย์การเรียนตามเกณฑ์ ๘๐ /๘๐ หาคุณภาพของแบบสอบถาม ประเมิน การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ประเมินคุณภาพของแผนการสอน หาค่า IOA,ค่า IOC, ค่า CV,หาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ เป็นต้น แต่ท่านสามารถนำแบบฝึกหรือข้อสอบที่จัดทำ ขึ้นไปใช้ ได้เลย มิฉะนั้นท่านจะกังวลใจและรู้สึกว่าการวิจัยเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ไม่อยากทำ
ขั้นที่ ๔ ทดลองสอน /ลงมือแก้ปัญหา
การทดลองวิจัย จะทำตามวิธีดำเนินการซึ่งจะใช้เวลาในการวิจัย ๒ ชั่วโมง หรือ ๑ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือนก็ได้ แต่ไม่ควรนานเกิน ๒ เดือน เพราะการวิจัยในชั้นเรียนมักจะเป็น เรื่องสั้นๆ ปัญหาเล็กๆ เช่น การแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการสังเกตโดยใช้แบบฝึกการสังเกต ซึ่งอาจมี ๒ - ๓ แบบฝึกหัด สามารถดำเนินการให้เสร็จได้ภายใน ๑ ชั่วโมง หรือ ๒-๓ ชั่วโมง ก็ได้
ขั้นที่ ๕ วัดผล วิเคราะห์ สรุป
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีหลายอย่าง เช่น แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบ ประเมิน แบบซักถาม แบบวัดเจตคติ แบบทดสอบ แบบตรวจผลงาน "ครูผู้สอนไม่ต้องกังวลเรื่องจำนวนหน้า หรือรูปแบบการเขียนรายงาน เพราะสิ่งที่เรา กำลังพูดกันคือรูปแบบการเขียนที่ไม่เป็นทางการ จึงคววรเขียนแบบสั้นๆ หน้าเดียว หรือกี่หน้าก็ได้"
การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที (t-test) แบบ dependent group ในกรณีที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเดียว การจัดอันดับคุณภาพเป็นต้น
การสรุปผล ให้สรุปตามหัวข้อของวัตถุประสงค์ในการวิจัย อาจมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้
ขั้นที่ ๖ เขียนรายงานสั้นๆ หน้าเดียว
การเขียนรายงานให้สมบูรณ์ทั้ง ๕ บท อาจจะต้องใช้เวลานาน ครูผู้สอนไม่ต้องกังวล เรื่องจำนวนหน้า หรือรูปแบบการเขียนรายงาน เพราะสิ่งที่เรากำลังพูดกันคือรูปแบบการเขียน ที่ไม่เป็นทางการจึงควรเขียนแบบสั้นๆ หน้าเดียว หรือกี่หน้าก็ได้ ขอให้เขียนอ่านแล้วรู้เรื่อง เข้าใจว่าครูกำลังทำอะไร ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถทำการวิจัยปีหนึ่งได้หลายเรื่อง ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นกับนักเรียนและตัวครู เมื่อทำการวิจัยหลายเรื่องจนเกิดความชำนาญแล้ว
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ความหมายของการวิจัย
ความหมายของการวิจัย
คำว่า "การวิจัย" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Research" Re มีความหมายว่า "อีก" Search แปลว่า "การค้นหา" ดังนั้นคำว่า "การวิจัย: Research" จึงแปลว่า การค้นหาแล้วค้นหาอีก และความหมายของคำว่า "การวิจัย" มีผู้ให้ความหมายไว้หลายอย่างเช่น
พจนานุกรมฉบับนักเรียน (2536 :470) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า การสะสมการรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา
อนันต์ ศรีโสภา (2521 : 16) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่าเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้พยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งให้คงที่
รวีวรรณ ชินะตระกูล (2535: 1 - 2) ได้ให้ความหมายของการวิจัย RESEARCH จำแนกตามตัวอักษรภาษาอังกฤษไว้ดังนี้
R = Recruitment & Relationshipหมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวบรวมรายชื่อผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
E = Education & Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และประสิทธิภาพสูงในการวิจัย
S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริง และผู้วิจัยจะต้องมีพลังกระตุ้นในความคิดริเริ่มมีความกระตือรือล้นที่จะทำวิจัย
E = Evaluation & Environment หมายถึง รู้จักประเมินผลดูว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่จะทำการวิจัยต่อไปหรือไม่และต้องรู้จักใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัย
A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และมีเจตคติที่ดีต่อการติดตามผลการ R = Result หมายถึง ผลการวิจัยที่ได้มาจะเป็นผลในทางไหนก็ตามจะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้น ๆ เนื่องจากเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบ
C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็นมีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม
H = Horizon หมายถึง เพื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่างขึ้น ผู้วิจัยจะต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง ไพโรจน์ ตีรณธนากุล (2534 : 1)ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่าการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอนแล้วนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบความหมายตลอดจนหาเหตุผล และความเป็นมาของข้อมูลทำการสรุปอย่างมีระบบ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และทางสถิติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงและหลักการบางอย่าง
จากที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริง ที่มีระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อนำความรู้ความจริงที่ได้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา หรือก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ
คำว่า "การวิจัย" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Research" Re มีความหมายว่า "อีก" Search แปลว่า "การค้นหา" ดังนั้นคำว่า "การวิจัย: Research" จึงแปลว่า การค้นหาแล้วค้นหาอีก และความหมายของคำว่า "การวิจัย" มีผู้ให้ความหมายไว้หลายอย่างเช่น
พจนานุกรมฉบับนักเรียน (2536 :470) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า การสะสมการรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา
อนันต์ ศรีโสภา (2521 : 16) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่าเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้พยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งให้คงที่
รวีวรรณ ชินะตระกูล (2535: 1 - 2) ได้ให้ความหมายของการวิจัย RESEARCH จำแนกตามตัวอักษรภาษาอังกฤษไว้ดังนี้
R = Recruitment & Relationshipหมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวบรวมรายชื่อผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
E = Education & Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และประสิทธิภาพสูงในการวิจัย
S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริง และผู้วิจัยจะต้องมีพลังกระตุ้นในความคิดริเริ่มมีความกระตือรือล้นที่จะทำวิจัย
E = Evaluation & Environment หมายถึง รู้จักประเมินผลดูว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่จะทำการวิจัยต่อไปหรือไม่และต้องรู้จักใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัย
A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และมีเจตคติที่ดีต่อการติดตามผลการ R = Result หมายถึง ผลการวิจัยที่ได้มาจะเป็นผลในทางไหนก็ตามจะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้น ๆ เนื่องจากเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบ
C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็นมีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม
H = Horizon หมายถึง เพื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่างขึ้น ผู้วิจัยจะต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง ไพโรจน์ ตีรณธนากุล (2534 : 1)ได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้ว่าการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอนแล้วนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบความหมายตลอดจนหาเหตุผล และความเป็นมาของข้อมูลทำการสรุปอย่างมีระบบ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และทางสถิติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงและหลักการบางอย่าง
จากที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริง ที่มีระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อนำความรู้ความจริงที่ได้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา หรือก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ
วิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
ธรรมชาติของมนุษย์ส่วนใหญ่ต้องการที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้นซึ่งเหตุนี้จึงเป็นแรงกระตุ้นให้มนุษย์มีความอยากรู้ อยากเห็น อยากเข้าใจในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเองวิธีการแสวงหาความรู้ความจริงของมนุษย์โดยทั่วไปมีดังนี้
1. การแสวงหาความรู้ความจริงโดยไม่อาศัยเหตุผลเป็นการแสวงหาความรู้ ความจริงอย่างง่าย ๆ โดยมากมักจะเป็นความจริงส่วนบุคคล(Personal Facts) เช่น
- ความรู้จากประสบการณ์ส่วนบุคคล ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลอาจจะเป็นความรู้ที่ได้จากการสะสมขึ้นมาเองหรือแสวงหาความรู้แบบบังเอิญ เช่นเด็กเล็ก ๆ เอานิ้วมือไปใกล้ไฟมากๆ ก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าไฟร้อน หรือได้ความรู้มาโดยการลองผิดลองถูกเช่น มีบาดแผลเลือดไหล ลองขยี้ใบไม้ชนิดต่าง ๆ มาปิดแผลถ้าใบไม้ชนิดใดห้ามเลือดได้ ก็จะเกิดความรู้ใหม่ ซึ่งได้จากการลองผิดลองถูก - ความรู้จากบุคคลอื่นเช่น โดยประเพณีและวัฒนธรรม โดยมีผู้รู้บอก ให้หรือโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้บอก การแสวงหาความรู้ของมนุษย์โดยไม่อาศัยเหตุผลอาจจะเป็นไปได้ทั้งความรู้ที่ถูกและความรู้ ที่ผิดไปจากความเป็นจริงที่ได้ และในขณะเดียวกันความรู้นั้น ถ้าเป็นการถ่ายทอดกันมาก็ไม่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่เพิ่มเติม
2. การแสวงหาความรู้ความจริงโดยอาศัยเหตุผลเป็นการแสวงหาความรู้ความจริงซึ่งมักจะเน้นความจริงทั่วไป (Public Facts)เช่น
2.1 วิธีอนุมาน(Deductionmethod) เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อย แล้วจึงลงสรุปจากความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงใหญ่และย่อย ตัวอย่างเช่น
ข้อเท็จจริงใหญ่ : คนทำวิจัยได้ทุกคนมีความสามารถด้านการวิเคราะห์ และด้านการสังเคราะห์ ข้อเท็จจริงย่อย : นายอนันต์ ทำวิจัยได้
สรุป : นายอนันต์ มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ การใช้วิธีอนุมานถูกโจมตีว่าไม่ได้สร้างความรู้ใหม่ อีกทั้งข้อสรุปจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อยเป็นจริงดังนั้น ผู้ที่จะนำเอาวิธีอนุมานไปใช้ถ้าขาดความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่นำมาอ้างก็จะทำให้สรุปผิดได้แต่วิธีอนุมานยังมีประโยชน์ต่อการวิจัยบ้าง ในเรื่องการตั้งสมมติฐาน วางแผนเก็บข้อมูลเป็นต้น
2.2 วิธีอุปมาน(Induction method) เป็นวิธีย้อนกลับกับวิธีอนุมาน นั่นคือเป็นวิธีการค้นหาความรู้ความจริงจากข้อเท็จจริงย่อยๆ โดยพิจารณาสิ่งที่เหมือน กัน ต่างกัน สัมพันธ์กัน แล้วจึงสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ตัวอย่างเช่น
ข้อเท็จจริงย่อย : คนที่เป็นโรคเอดส์แต่ละคนรักษาไม่หายในที่สุดจะตายทุกคน
ดังนั้น : กลุ่มคนที่เป็นโรคเอดส์ต้องตายทุกคน
ข้อบกพร่องของวิธีอุปมาน คือ หากเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนก็จะทำให้การลงสรุปความรู้ใหม่ผิดพลาดไป
2.3 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ถือว่าเป็นวิธีสืบแสวงหาความรู้ของมนุษย์สมัยใหม่และเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งประ-กอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นปัญหา (Problem) เป็นการกำหนดลงไปว่า ปัญหาที่ แท้จริงคืออะไร
2) ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าน่าจะเป็นอย่างมี เหตุผล
3) ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐาน
4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นมา
5) ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปว่าข้อเท็จจริงของปัญหาคืออะไร
วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุด นักวิจัยจึงยึดถือและปฏิบัติตามลำดับขั้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
1. การแสวงหาความรู้ความจริงโดยไม่อาศัยเหตุผลเป็นการแสวงหาความรู้ ความจริงอย่างง่าย ๆ โดยมากมักจะเป็นความจริงส่วนบุคคล(Personal Facts) เช่น
- ความรู้จากประสบการณ์ส่วนบุคคล ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลอาจจะเป็นความรู้ที่ได้จากการสะสมขึ้นมาเองหรือแสวงหาความรู้แบบบังเอิญ เช่นเด็กเล็ก ๆ เอานิ้วมือไปใกล้ไฟมากๆ ก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าไฟร้อน หรือได้ความรู้มาโดยการลองผิดลองถูกเช่น มีบาดแผลเลือดไหล ลองขยี้ใบไม้ชนิดต่าง ๆ มาปิดแผลถ้าใบไม้ชนิดใดห้ามเลือดได้ ก็จะเกิดความรู้ใหม่ ซึ่งได้จากการลองผิดลองถูก - ความรู้จากบุคคลอื่นเช่น โดยประเพณีและวัฒนธรรม โดยมีผู้รู้บอก ให้หรือโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้บอก การแสวงหาความรู้ของมนุษย์โดยไม่อาศัยเหตุผลอาจจะเป็นไปได้ทั้งความรู้ที่ถูกและความรู้ ที่ผิดไปจากความเป็นจริงที่ได้ และในขณะเดียวกันความรู้นั้น ถ้าเป็นการถ่ายทอดกันมาก็ไม่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่เพิ่มเติม
2. การแสวงหาความรู้ความจริงโดยอาศัยเหตุผลเป็นการแสวงหาความรู้ความจริงซึ่งมักจะเน้นความจริงทั่วไป (Public Facts)เช่น
2.1 วิธีอนุมาน(Deductionmethod) เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อย แล้วจึงลงสรุปจากความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงใหญ่และย่อย ตัวอย่างเช่น
ข้อเท็จจริงใหญ่ : คนทำวิจัยได้ทุกคนมีความสามารถด้านการวิเคราะห์ และด้านการสังเคราะห์ ข้อเท็จจริงย่อย : นายอนันต์ ทำวิจัยได้
สรุป : นายอนันต์ มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ การใช้วิธีอนุมานถูกโจมตีว่าไม่ได้สร้างความรู้ใหม่ อีกทั้งข้อสรุปจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อยเป็นจริงดังนั้น ผู้ที่จะนำเอาวิธีอนุมานไปใช้ถ้าขาดความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่นำมาอ้างก็จะทำให้สรุปผิดได้แต่วิธีอนุมานยังมีประโยชน์ต่อการวิจัยบ้าง ในเรื่องการตั้งสมมติฐาน วางแผนเก็บข้อมูลเป็นต้น
2.2 วิธีอุปมาน(Induction method) เป็นวิธีย้อนกลับกับวิธีอนุมาน นั่นคือเป็นวิธีการค้นหาความรู้ความจริงจากข้อเท็จจริงย่อยๆ โดยพิจารณาสิ่งที่เหมือน กัน ต่างกัน สัมพันธ์กัน แล้วจึงสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ตัวอย่างเช่น
ข้อเท็จจริงย่อย : คนที่เป็นโรคเอดส์แต่ละคนรักษาไม่หายในที่สุดจะตายทุกคน
ดังนั้น : กลุ่มคนที่เป็นโรคเอดส์ต้องตายทุกคน
ข้อบกพร่องของวิธีอุปมาน คือ หากเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนก็จะทำให้การลงสรุปความรู้ใหม่ผิดพลาดไป
2.3 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ถือว่าเป็นวิธีสืบแสวงหาความรู้ของมนุษย์สมัยใหม่และเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งประ-กอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นปัญหา (Problem) เป็นการกำหนดลงไปว่า ปัญหาที่ แท้จริงคืออะไร
2) ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าน่าจะเป็นอย่างมี เหตุผล
3) ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐาน
4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นมา
5) ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปว่าข้อเท็จจริงของปัญหาคืออะไร
วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือมากที่สุด นักวิจัยจึงยึดถือและปฏิบัติตามลำดับขั้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
จุดมุ่งหมายของการวิจัยเมื่อพิจารณาตามเป้าหมายในการวิจัยแบ่งได้ 2 ประการคือ
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการ เป็นการแสวงหาความรู้ หรือความจริงเพื่อสร้างเป็นกฎ สูตรทฤษฎี ในแต่ละสาขาวิชา ไม่คำนึงถึงเรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ เพราะการวิจัยแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพียงต้องการรู้เรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น เช่น การวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติการโคจรของดาวหางเป็นต้น
2. เพื่อนำไปประยุกต์หรือใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มีจุดมุ่งหมายในการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงปฏิบัติโดยตรง เช่น การวิจัยแก้ปัญหาการจราจรการวิจัยปัญหาการเรียนการสอน การวิจัยเพื่อศึกษาขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นต้น
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการ เป็นการแสวงหาความรู้ หรือความจริงเพื่อสร้างเป็นกฎ สูตรทฤษฎี ในแต่ละสาขาวิชา ไม่คำนึงถึงเรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ เพราะการวิจัยแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพียงต้องการรู้เรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น เช่น การวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติการโคจรของดาวหางเป็นต้น
2. เพื่อนำไปประยุกต์หรือใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มีจุดมุ่งหมายในการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงปฏิบัติโดยตรง เช่น การวิจัยแก้ปัญหาการจราจรการวิจัยปัญหาการเรียนการสอน การวิจัยเพื่อศึกษาขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นต้น
ประโยชน์ของการวิจัยทางการศึกษา
ประโยชน์ของการวิจัยทางการศึกษา
การวิจัยนั้นถ้าดูตามเป้าหมายจะมี2 ลักษณะ คือ การวิจัยพื้นฐาน (Pure Research or Basic Research) และการวิจัยประยุกต์(Applied Research) ซึ่งการวิจัยพื้นฐานมีเป้าหมายที่จะแสวงหาความรู้ความจริง เพื่อสร้างกฎ สูตร ทฤษฎีในแต่ละสาขาวิชา เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อไป ส่วนการวิจัยประยุกต์ มุ่งนำผลจากการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ
การวิจัยทางการศึกษา มีทั้งการวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกต์จึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ
1.ได้ข้อความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น ผลการวิจัยทำให้เราทราบว่ามนุษย์แต่ละคนมีความถนัดในการเรียนวิชาการสาขาต่างๆ แตกต่างกันออกไป การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการสอน ทำให้ทราบว่าเทคนิคการสอนที่ต่างกันนั้น ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน แตกต่างกันไปอย่างไร
2. ช่วยให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุดจากการได้ความรู้และ ความเข้าใจต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทำให้นักการศึกษาสามารถที่จะจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้
3. ก่อให้เกิดประดิษฐ์กรรมและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการศึกษา ผลของการวิจัยในทางการศึกษาส่วนหนึ่งก่อให้เกิดแนวคิด วิธีการเครื่องมือ ตลอดจนวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการศึกษาให้ดีขึ้น
การวิจัยนั้นถ้าดูตามเป้าหมายจะมี2 ลักษณะ คือ การวิจัยพื้นฐาน (Pure Research or Basic Research) และการวิจัยประยุกต์(Applied Research) ซึ่งการวิจัยพื้นฐานมีเป้าหมายที่จะแสวงหาความรู้ความจริง เพื่อสร้างกฎ สูตร ทฤษฎีในแต่ละสาขาวิชา เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อไป ส่วนการวิจัยประยุกต์ มุ่งนำผลจากการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ
การวิจัยทางการศึกษา มีทั้งการวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกต์จึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ
1.ได้ข้อความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น ผลการวิจัยทำให้เราทราบว่ามนุษย์แต่ละคนมีความถนัดในการเรียนวิชาการสาขาต่างๆ แตกต่างกันออกไป การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการสอน ทำให้ทราบว่าเทคนิคการสอนที่ต่างกันนั้น ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน แตกต่างกันไปอย่างไร
2. ช่วยให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุดจากการได้ความรู้และ ความเข้าใจต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทำให้นักการศึกษาสามารถที่จะจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้
3. ก่อให้เกิดประดิษฐ์กรรมและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการศึกษา ผลของการวิจัยในทางการศึกษาส่วนหนึ่งก่อให้เกิดแนวคิด วิธีการเครื่องมือ ตลอดจนวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการศึกษาให้ดีขึ้น
ขั้นตอนการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย
การดำเนินการวิจัย ยึดถือและปฏิบัติตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักมีลำดับขั้นของการทำวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา(Problem Identification) เมื่อต้องการศึกษาเรื่องใด ต้องตั้งปัญหาที่จะศึกษาให้ชัดเจนซึ่งในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องตั้งชื่อเรื่อง และนิยามปัญหาที่จะวิจัย ว่าในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายอย่างไรการที่จะนิยามปัญหาได้ชัดเจน ต้องมีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
ขั้นที่ 2 การตั้งสมมุติฐาน (Formulation Hypothesis) การตั้งสมมุติฐานเป็นการทำนายผลการวิจัย เป็นการเดาว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ศึกษานั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร
ขั้นที่ 3 การรวบรวมข้อมูล(Collection of Data) ผู้วิจัยจะต้องวางแผนว่าจะใช้วิธีการใดเก็บรวบรวมข้อมูลและหาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อที่จะนำข้อมูลมาใช้ในการตอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis) ผู้วิจัยจะต้องใช้ วิธีการทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยและแปลความหมายของข้อมูล
ขั้นที่ 5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปผลว่าการวิจัยครั้งนี้ได้ผลอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งอภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะ แล้ว ทำเป็นรายงานการวิจัย เพื่อเป็นเอกสารแสดงผลการศึกษาค้นคว้า ในการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยจะต้องทำการวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อให้งานวิจัยเป็นไปอย่างมีแบบแผน ซึ่งอาจแยกแยะขั้นตอนทั้งการวางแผนและลงมือปฏิบัติจริงได้ดังนี้
1. เลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยเป็นการกำหนดของงานวิจัยว่า จะทำการศึกษาในเรื่องใดสาขาวิชาใด มีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน ปัญหาที่ทำการวิจัยนั้นต้องมีคุณค่าและเหมาะสมกับความสามารถ เวลาและเงินทุนสำหรับการวิจัย
2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยต้องศึกษาทฤษฎี หลักการ ความรู้พื้นฐานผลงานวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้เห็นแนวทางในการวิจัย
3. เขียนเค้าโครงการวิจัยเพื่อให้การวิจัยดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายละเอียดของกระบวนการวิจัยไว้ล่วงหน้าว่าจะต้อง ทำอะไรบ้าง ตามลำดับแต่ต้นจนจบ โดยมีปฏิทินการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งกำหนดค่าใช้จ่ายเครื่องมือในการวิจัยไว้ด้วย
4. การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากเขียนเค้าโครงการวิจัย เรียบร้อยแล้ว ก็มีการนำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ในเค้าโครงการวิจัย
5. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีที่กำหนดไว้ในเค้าโครงการวิจัย
6. สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ขั้นนี้เป็นการสรุปผลที่ได้จาก การวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่จะทำการวิจัย ในลักษณะคล้าย คลึงกันหรือนำผลการวิจัยไปใช้
7. เขียนรายงานการวิจัยงานวิจัยจะเสร็จสมบูรณ์ต้องมีการรายงานวิจัยออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยขั้นนี้จะรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบตามแนวการเขียนรายการวิจัย เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่มาศึกษาค้นคว้าต่อไป
การดำเนินการวิจัย ยึดถือและปฏิบัติตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักมีลำดับขั้นของการทำวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา(Problem Identification) เมื่อต้องการศึกษาเรื่องใด ต้องตั้งปัญหาที่จะศึกษาให้ชัดเจนซึ่งในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องตั้งชื่อเรื่อง และนิยามปัญหาที่จะวิจัย ว่าในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายอย่างไรการที่จะนิยามปัญหาได้ชัดเจน ต้องมีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
ขั้นที่ 2 การตั้งสมมุติฐาน (Formulation Hypothesis) การตั้งสมมุติฐานเป็นการทำนายผลการวิจัย เป็นการเดาว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ศึกษานั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร
ขั้นที่ 3 การรวบรวมข้อมูล(Collection of Data) ผู้วิจัยจะต้องวางแผนว่าจะใช้วิธีการใดเก็บรวบรวมข้อมูลและหาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อที่จะนำข้อมูลมาใช้ในการตอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis) ผู้วิจัยจะต้องใช้ วิธีการทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยและแปลความหมายของข้อมูล
ขั้นที่ 5 การสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปผลว่าการวิจัยครั้งนี้ได้ผลอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งอภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะ แล้ว ทำเป็นรายงานการวิจัย เพื่อเป็นเอกสารแสดงผลการศึกษาค้นคว้า ในการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยจะต้องทำการวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อให้งานวิจัยเป็นไปอย่างมีแบบแผน ซึ่งอาจแยกแยะขั้นตอนทั้งการวางแผนและลงมือปฏิบัติจริงได้ดังนี้
1. เลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยเป็นการกำหนดของงานวิจัยว่า จะทำการศึกษาในเรื่องใดสาขาวิชาใด มีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน ปัญหาที่ทำการวิจัยนั้นต้องมีคุณค่าและเหมาะสมกับความสามารถ เวลาและเงินทุนสำหรับการวิจัย
2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยต้องศึกษาทฤษฎี หลักการ ความรู้พื้นฐานผลงานวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้เห็นแนวทางในการวิจัย
3. เขียนเค้าโครงการวิจัยเพื่อให้การวิจัยดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายละเอียดของกระบวนการวิจัยไว้ล่วงหน้าว่าจะต้อง ทำอะไรบ้าง ตามลำดับแต่ต้นจนจบ โดยมีปฏิทินการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งกำหนดค่าใช้จ่ายเครื่องมือในการวิจัยไว้ด้วย
4. การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากเขียนเค้าโครงการวิจัย เรียบร้อยแล้ว ก็มีการนำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ในเค้าโครงการวิจัย
5. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีที่กำหนดไว้ในเค้าโครงการวิจัย
6. สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ขั้นนี้เป็นการสรุปผลที่ได้จาก การวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่จะทำการวิจัย ในลักษณะคล้าย คลึงกันหรือนำผลการวิจัยไปใช้
7. เขียนรายงานการวิจัยงานวิจัยจะเสร็จสมบูรณ์ต้องมีการรายงานวิจัยออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยขั้นนี้จะรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบตามแนวการเขียนรายการวิจัย เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่มาศึกษาค้นคว้าต่อไป
ประเภทของการวิจัย
งานวิจัยแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการจัดประเภทในที่นี้ขอกล่าวถึงประเภทของงานวิจัยเมื่อใช้เกณฑ์ 4 ประเภท ดังนี้
1. แบ่งตามประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Pure Research) เป็นการวิจัยที่ไม่ได้มุ่งที่จะนำผลของการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ทันทีในชีวิตจริงแต่มีความต้องการที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ข้อเท็จจริงพื้นฐานทางทฤษฎีหรือกฎที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ที่ศึกษาเป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์เป็นเป้าหมายหลัก
1.2 การวิจัยประยุกต์(Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติเช่น เพื่อนำไปแก้ปัญหา เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเพื่อนำไปพัฒนาโครงการเป็นต้น
2. แบ่งตามลักษณะวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์
3. แบ่งตามประเภทของศาสตร์ แบ่งได้2 ประเภท คือ
3.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(SciencesResearch) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องของการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและวัตถุต่างๆ รวมทั้งมุ่งนำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น งานวิจัยทางด้านการแพทย์อุตสาหกรรม เคมี ชีววิทยา เป็นต้น
3.2 การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ เช่น การวิจัยทางการศึกษา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง เป็นต้น
4. แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยหมายถึง แบบแผนในการวิจัยซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล และ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบปัญหาที่ทำการวิจัยการแบ่งประเภทของการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็น การวิจัยที่มุ่งแสวงหาคำตอบให้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตโดยศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยจะต้องนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์แนวคิดต่าง ๆ ที่ค้นพบ มาประมวล แปลความ วิเคราะห์และสังเคราะห์ ตัวอย่างเช่น - ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย พ.ศ.2493-2529
-พัฒนาการของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2459-2532
4.2 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็น การวิจัยที่ค้นหาความจริงโดยอาศัยการทดลองเพื่อให้ได้คำตอบในเชิงเหตุผลว่ามี สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผลที่เกิดตามมา การวิจัยประเภทนี้จะมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ตัวอย่างเช่น
- การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยอ่านบทเรียนก่อนและหลังการเรียน (ธนัฐ กรอบทอง.)
- การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเรื่อง กฎและวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ที่เรียนจากหน่วยการ เรียนกับการสอนปกติ
4.3 การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาคำตอบ คำอธิบาย ของสภาพการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ที่อยู่ในช่วงปัจจุบันที่กำลังมีการวิจัยโดยชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นเป็นอย่างไร เช่น เกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใดมีลักษณะที่สำคัญ ๆ อะไรบ้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อย คือ
4.3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies) เป็นการศึกษาเพื่อที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงปัจจุบันที่มีการเก็บข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงานในการวางแผนหรือปรับปรุงสภาพที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นตัวอย่างเช่น
- ความคิดเห็นของครู-อาจารย์ที่มีต่อการจัดโครงการ อาหารกลางวัน
- การสำรวจประชามติ (public opinion survey) เช่น สำรวจความนิยมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล
- การวิเคราะห์งาน (job analysis) เป็นการศึกษารายละเอียดของงาน
- การวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis) เป็นการศึกษารายละเอียดของเอกสารในปัจจุบันเช่น หนังสือแบบเรียน หลักสูตร
4.3.2 การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational Studies) เป็นการวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ
ก. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case studies) เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อให้ทราบรายละเอียดทุกแง่ทุกมุมเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
ข. การศึกษาเปรียบเทียบ (Causal comparative studies) การศึกษาแบบนี้ยังไม่เป็นการทดลองเป็นเพียงการศึกษาผลที่ปรากฏว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ไม่มีการควบคุมตัวแปร
ค. การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์(Correlation studies) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร2 ตัวขึ้นไปว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่
4.3.3 การศึกษาพัฒนาการ (Developmental Studies) เป็นการวิจัยในลักษณะเฝ้าติดตามดูความเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใด ๆ ที่ฝันแปรไปตามเวลา แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
ก. การศึกษาภาวะการเจริญเติบโต (Growth studies) เช่นการศึกษาพัฒนาการทางร่างกายของเด็กก่อนวัยเรียนเป็นต้น
ข. การศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies) เช่น การศึกษาถึงแนวโน้มของอาชีพที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดสกลนครอีก15 ปีข้างหน้า การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในทศวรรษหน้า เป็นต้น
1. แบ่งตามประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Pure Research) เป็นการวิจัยที่ไม่ได้มุ่งที่จะนำผลของการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ทันทีในชีวิตจริงแต่มีความต้องการที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ข้อเท็จจริงพื้นฐานทางทฤษฎีหรือกฎที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ที่ศึกษาเป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์เป็นเป้าหมายหลัก
1.2 การวิจัยประยุกต์(Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติเช่น เพื่อนำไปแก้ปัญหา เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเพื่อนำไปพัฒนาโครงการเป็นต้น
2. แบ่งตามลักษณะวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์
3. แบ่งตามประเภทของศาสตร์ แบ่งได้2 ประเภท คือ
3.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(SciencesResearch) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องของการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและวัตถุต่างๆ รวมทั้งมุ่งนำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น งานวิจัยทางด้านการแพทย์อุตสาหกรรม เคมี ชีววิทยา เป็นต้น
3.2 การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่เน้นในเรื่องการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ เช่น การวิจัยทางการศึกษา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง เป็นต้น
4. แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยหมายถึง แบบแผนในการวิจัยซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล และ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบปัญหาที่ทำการวิจัยการแบ่งประเภทของการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็น การวิจัยที่มุ่งแสวงหาคำตอบให้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตโดยศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยจะต้องนำเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์แนวคิดต่าง ๆ ที่ค้นพบ มาประมวล แปลความ วิเคราะห์และสังเคราะห์ ตัวอย่างเช่น - ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย พ.ศ.2493-2529
-พัฒนาการของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2459-2532
4.2 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็น การวิจัยที่ค้นหาความจริงโดยอาศัยการทดลองเพื่อให้ได้คำตอบในเชิงเหตุผลว่ามี สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผลที่เกิดตามมา การวิจัยประเภทนี้จะมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ตัวอย่างเช่น
- การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยอ่านบทเรียนก่อนและหลังการเรียน (ธนัฐ กรอบทอง.)
- การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเรื่อง กฎและวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ที่เรียนจากหน่วยการ เรียนกับการสอนปกติ
4.3 การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาคำตอบ คำอธิบาย ของสภาพการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ที่อยู่ในช่วงปัจจุบันที่กำลังมีการวิจัยโดยชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นเป็นอย่างไร เช่น เกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใดมีลักษณะที่สำคัญ ๆ อะไรบ้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อย คือ
4.3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies) เป็นการศึกษาเพื่อที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงปัจจุบันที่มีการเก็บข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงานในการวางแผนหรือปรับปรุงสภาพที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นตัวอย่างเช่น
- ความคิดเห็นของครู-อาจารย์ที่มีต่อการจัดโครงการ อาหารกลางวัน
- การสำรวจประชามติ (public opinion survey) เช่น สำรวจความนิยมของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล
- การวิเคราะห์งาน (job analysis) เป็นการศึกษารายละเอียดของงาน
- การวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis) เป็นการศึกษารายละเอียดของเอกสารในปัจจุบันเช่น หนังสือแบบเรียน หลักสูตร
4.3.2 การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational Studies) เป็นการวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ
ก. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case studies) เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อให้ทราบรายละเอียดทุกแง่ทุกมุมเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
ข. การศึกษาเปรียบเทียบ (Causal comparative studies) การศึกษาแบบนี้ยังไม่เป็นการทดลองเป็นเพียงการศึกษาผลที่ปรากฏว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ไม่มีการควบคุมตัวแปร
ค. การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์(Correlation studies) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร2 ตัวขึ้นไปว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่
4.3.3 การศึกษาพัฒนาการ (Developmental Studies) เป็นการวิจัยในลักษณะเฝ้าติดตามดูความเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใด ๆ ที่ฝันแปรไปตามเวลา แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
ก. การศึกษาภาวะการเจริญเติบโต (Growth studies) เช่นการศึกษาพัฒนาการทางร่างกายของเด็กก่อนวัยเรียนเป็นต้น
ข. การศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies) เช่น การศึกษาถึงแนวโน้มของอาชีพที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดสกลนครอีก15 ปีข้างหน้า การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในทศวรรษหน้า เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)